Adams Speedline F11
ได้ก้าน Miyazaki C.Kua 43A มาอย่างไม่ตั้งใจ เพราะถูกยัดไส้มาก็ถือว่าเป็นลูกตุกติกที่ผมค่อนข้างจะรังเกียจถึงแม้ผู้ขายจะแก้ตัวอย่างไรก็ไม่ควรทำแบบนี้ผมก็ต่อว่าผู้ขายของผม ว่าผมไม่ค่อยจะสบายใจที่เกิดเรื่องแบบนี้เพราะยังไงก็ต้องซื้อกันอีกเยอะ ตัวนี้ทำไว้ก่อนที่ผมจะสอบโปร ก็คิดอะไรไม่ออก ทำเอาไว้ตีเล่นๆ และอยากจุะรู้น้ำหนักหัวของ F11 ก็ได้เห็นอย่างที่เป็นคือน้ำหนักหัวเปล่าอยู่ที่ 198 กรัม
Miyazaki C.Kua 43A
Weight : 48g.
Tip size : .335
Luanch : Mid-High
Torque : 4.8
Butt DIA : .650
Adams F11 Miyazaki C.Kua 43A
Total weight 296g.
Swing weight D 1.5
Length 45.5
CPMs 220.26
Miyazaki C.Kua 39S
Weight : 47g.
Adams F11 10.5 Miyazaki C.Kua 43A
ได้ให้เพื่อนที่มีความเร็วหัวไม้ไม่สูงได้ทดสอบในสนามไดร์ฟ ค่อนข้างจะชอบกันพอสมควรเพราะน้ำหนักรวมแค่ 296 กรัม เบาจริงๆ ฟิลลิ่งก้านให้ความนุ่มนวล เพราะก้านที่อ่อนอยู่แล้วแต่ก็ยังคงสามารถควบคุมวิถีลูกได้ดี ส่วนเพื่อนที่มีความเร็วหัวไม้สูงเกิน 100 แต่ชอบหัวไม้ที่เบาและดีดๆ ก็พอใจเพราะก้านก็ยังควบคุมได้ดีเหมือนกัน
Miyazaki C.Kua 39S
Weight : 47g.
Tip size : .350
Luanch : Mid
Torque : 6.4
Butt DIA : .610
Total weight 301g.
Swing weight D 1
Length 45
CPMs 234.92
TaylorMade R9 SuperTri 9.5 Miyazaki C.Kua 39S
ส่วนตัวนี้ในคนที่มีความเร็วหัวไม้ต่ำกว่า 95 MPH ก็ค่อนข้างจะบ่นกันเล็กน้อยเพราะรู้ว่าก้านจะแข็งไปนิด ส่วนเพื่อนคนเดิมที่มีความเร็วหัวไม้เกิน 100 ก็กลับไม่ชอบก้านตัวนี้เหมือนกัน ในบางคนถึงแม้ว่าตัวเองจะมีความเร็วหัวไม้สูงแต่ก็กลับพึงพอใจใช้ก้านที่อ่อนกว่า เพราะความก้านที่อ่อนกว่าตอบสนองความนุ่มนวลที่ให้มากกว่าแค่นั้นเองครับ
Miyazaki C.Kua 39S Vs Miyazaki C.Kua 43A
ได้ไปออกรอบที่สนามกอล์ฟบางพระ รอบแรกก็ออกทางฝั่งหลุม 10 ก็ตั้งใจไว้แล้วว่าจะแบ่งภาคการทดสอบสองก้าน ฝั่งละ 9 หลุม และก็ตัดสินเลือก Adams F11 10.5 Miyazaki C.Kua 43A เป็นตัวเลือกอันดับแรกเพราะว่า ตีก้านอ่อนๆ น่าจะดีกว่า ทีอ๊อฟสองสามหลุมแรกก็มีอาการกินซ้ายนิดๆ แต่พอหลุมถัดมาก็เริ่มปรับตัวได้วิถีลูกก็ไม่ได้สูงมาก ระยะที่ได้ก็น่าพอใจประมาณ 250 หลา สวิงตามปกติ ลูกตกแล้วก็วิ่งพอสมควร สำหรับผมแล้วก็ถือว่าเป็นครั้งแรกที่ใช้ไดร์ฟเวอร์ที่มีน้ำหนักรวมน้อยกว่า 300 กรัม
TaylorMade R9 SuperTri 9.5 Miyazaki C.Kua 39S เฉพาะหัวนี้ผมใช้ในการสอบโปรที่ผ่านมา จึงมีความคุ้นเคยกันอยู่แล้วแค่เปลี่ยนก้านเข้าไป ตอนแรกที่ทำความยาวไว้ที่ 45.5 นิ้วนั้นสำหรับผมค่อนข้างมีปัญหาพอสมควรเพราะลักษณะลูกออกจากหน้าไม้นั้นไปทางด้านขวาเยอะมาก ก็พอสรุปได้เหมือนกันนั่นเป็นเพราะความยาวของก้าน จึงทำการตัดให้สั้นลงจนเหลือความยาวที่ 45 นิ้ว ระยะที่ได้ก็ถือว่าดีมาก วิถีลูกที่ออกจากหน้าไม้นั้นให้มุมเหินที่สูงกว่า Adams F11 10.5 Miyazaki C.Kua 43A นั่นเป็นเพราะ Torque ของก้านอยู่ที่ 6.4 ตีลอยได้ง่ายกว่าการควบคุมลูกก็ดี ตีไม่ยากแต่ตกแล้วไม่ค่อยวิ่งเท่า C.Kua 43A แต่เมื่อเร่งความเร็วหัวไม้ก็ยังมีอาการตื้อๆ นิดๆ นั่นอาจเป็นเพราะความเร็วหัวไม้เกินก้านก็น่าจะเป็นไปได้ครับ
Miyazaki C.Kua 59S Vs Miyazaki Kusala 61S
TaylorMade R9 SuperDeep TP Miyazaki C.Kua 43S Vs C.Kua 59R
Miyazaki C.Kua 59S Vs Miyazaki Kusala 61S
TaylorMade R9 SuperDeep TP Miyazaki C.Kua 43S Vs C.Kua 59R
ขอบคุณครับสำหรับ Review
ReplyDeleteC.Kua 39S ที่เอามาตกลงไม่ได้ทำอะไรกะมันเลย :)
เพราะดันไปได้ 43X มาอีกอัน เลยข้ามคิวไปลองก่อน
ปรากฏว่ายังรู้สึกว่า 43X ไม่แข็งเท่าไร
แล้วถ้า 39S จะเอาอยู่หรือ--ว่าแล้วก็เลยผ่อง 39S ให้เพื่อนไป
รอดู review ก้านใหม่ด้วยใจระทึกครับ
Fastserve
C.Kua 39S ผมตีแล้วได้ระยะแครี่ล้วนๆ ได้มุมเหินที่น่าพอใจใน Lolf 9.5 วันนี้เพิ่งได้ Titleist adaptor พรุ่งนี้ได้ใส่ เผลอๆ จะเอาไปให้ลองถึงฝั่งธนฯ ก็เป็นได้นะครับพี่
ReplyDeleteไม่ทราบมีใครลองใช้ CKua 39A หรือ 39R บ้าง อยากฟังคอมเมนท์ สนใจครับ
ReplyDeleteอยู่ต่างจังหวัด ไม่มีโอกาสได้ลองก่อนซื้อ กลัวว่าซื้อไปใช้แล้วไม่เหมาะกับวงของตัวเองครับ
เป็น swinger อายุ 54
ตอนนี้ใช้ Honma Twinmarks 450 CC Flex R 3 ดาว
ไม่รู้ว่าก้านโมทั้ง 2 ตัวจะสู้ก้านที่มากับไดร์ฟเวอร์หรือเปล่า ยังสงสัยอยู่เหมือนกัน
ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับคุณโจ้
ReplyDeleteถ้ามาคงได้ลองอะไรแปลกๆอีกหลายอย่างที่แก๊งค์ฝั่งธนด้วย
43X ผมยังจับจังหวะไม่ได้เท่าไร ลูกที่โดนยังไม่ได้ระยะที่ควร
แต่ flight ball สูงขึ้นกว่าก้านเก่าหน่อย ถ้าเข้ามือน่าจะตีสบายกว่า EV6X
Dromos นี่มีแต่ 60 กรัมขึ้นไปหรือครับ
วันนี้ต้นขมได้ลองแล้วครับพี่เล้ง
ReplyDeleteTitleist 910 D2 Miyazaki Dromos 61R
ต้นโทรมาคุยให้ฟังแล้วครับ ท่าทางจะประทับใจมาก ไว้ต้องตามไปลองดูหน่อยแล้ว
ReplyDelete