หลายๆ ท่านรวมทั้งตัวผมด้วยคงเคยมีข้อสงสัยไม่น้อยทีเดียวสำหรับไดร์ฟเวอร์เทเลอร์เมด
ที่มีหลายรุ่นแต่ละรุ่นก็มีอะไรที่แตกต่งกันไม่ว่าตัวที่วางขายทั่วไปและตัวที่ใช้สำหรับโปรในระดับแข่งขัน
มันต่างกันตรงไหนค่อยๆ มาดูข้อมูลที่ผมได้พยายามหาและทำการเปรียบเทียบกันเพื่อให้เห็นความแตกต่างจากการทดสอบในสนามไดร์ฟและการออกรอบ ในภาพด้านซ้ายมือเป็น R9 SuperTri Retail ด้านขวามือเป็น R9 SuperTri Tour Issue Version 2 มีขนาดหัวที่เล็กกว่าอย่างเห็นได้ชัด แล้วมันดีจริงหรือ ?
TaylorMade
SuperTri Tour Issue แตกต่างจาก TaylorMade SuperTri Retail ตรงไหน
จุดแรกที่สังเก็ตได้ง่ายก็คือ Serial No. ที่ขึ้นต้นด้วยตัว Txxxxx
ซึ่งผลิตขึ้นมาให้โปรใช้ในการแข่งขัน น้ำหนักหัวของ Tour
Issue จะมีน้ำหนักหัวที่เบากว่าตัว Retail จึงต้องมีการทำ
Hotmelt เพื่อที่จะทำการเพิ่มน้ำหนักหัวให้ได้ตามความต้องการของโปรในแต่ละคน
Tour Issue lolf และ Lie Angle ก็แตกต่างจากตัว
Retail
Hotmelt
คือกาวร้อนที่ใช้ในการเพิ่มน้ำหนักหัวโดยการใช้ปืนฉีดเนื้อกาวเข้าไปในหัว
เพราะทุกหัวที่เป็น Tour Issue จะมีน้ำหนักเบาจึงต้องมีการเพิ่มน้ำหนักหัวเพื่อให้ได้สวิงเวทตามความต้องการของโปรแต่ละคน
เป็นวิธีการที่ทำได้ไว ส่วนวิถีลูกก็สามารถออกแบบได้ไม่ว่าจะเป็นวิถีลูกแบบ draw
biased หรือ fade biased
และเป็นการปรับเปลี่ยนจุดศูนย์ถ่วงของหัวด้วย จึงทำให้ได้วิถีลูกที่ต่ำลงกว่าเดิมมาก
ต่างจากตัว Retail อย่างเห็นได้ชัดใน lolf เดียวกัน
Serial No. ที่ต่างกัน |
เมื่อใส่กาว Hotmelt สิ่งที่ได้มาคือเสียงปะทะลูกที่เปลี่ยนไป
ฟิลลิ่งที่ได้นั้นดีขึ้นมากรู้สึกว่าเวลาหัวไม้ปะทะลูกนั้นแน่นกว่าตัว Retail
เมื่อใส่กาวมากฟิลิ่งที่ได้นั้นก็จะ solid มากขึ้น
กาว Hotmelt เมื่อฉีดเข้าไปในหัวจะติดแน่นและถาวร
การเอากาวออกเป็นอะไรที่ยากมาก อาจทำให้หัวเกิดการเสียหายได้ถึงแม้ว่าช่างจะมีความชำนาญมากพอ
หัวที่มีหรือแสดงให้เห็นว่ามี Hotmelt stamp ได้ระยะที่ดีขึ้นจริงหรือเปล่า ? จากการค้นหาข้อมูลที่ได้มาก็ปรากฏว่า ไม่ได้ทำให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
แต่เป็นการแสดงว่าผ่านขั้นตอนของ Tour Van ที่มีการปรับเปลี่ยนน้ำหนักหัวให้มากขึ้น
เป็นน้ำหนักหัวจริงๆ ไม่เหมือนกับการเพิ่มน้ำหนักหัวด้วยน๊อตปรับน้ำหนัก
ฟิลลิ่งที่ได้นั้นก็ต่างกันมาก
และผมก็ได้เช็คน้ำหนักหัวของทั้งสองโดยการถอดน็อตปรับน้ำหนักทั้ง 3 ชิ้นออก
เหลือแต่น๊อตตรงคอไม้ชิ้นเดียว R9 SuperTri Tour Issue Version
2 มีน้ำหนักหัว 182.7g. ส่วน R9
SuperTri Retail มีน้ำหนักหัว 179.9g. ซึ่งก็มีน้ำหนักหัวที่ต่างกันนั่นเป็นเพราะ Tour Issue ผ่านการทำ Hotmelt มาแล้ว
และเมื่อใส่น๊อตปรับน้ำหนักเข้าไป หัว Tour Issue ได้ให้น๊อตปรับน้ำหนักมา 1 กรัม 2 ชิ้นและ 10 กรัม 1 ชิ้น น้ำหนักหัวพร้อมน็อตอยู่ที่ 195.5 กรัม ส่วนทาง Retail ได้ให้น๊อตปรับน้ำหนักมา 1 กรัม 2 ชิ้นและ 16 กรัม 1 ชิ้น น้ำหนักหัวพร้อมน๊อตอยู่ที่ 199 กรัม
ด้านซ้าย
R9
SuperTri Tour Issue Version 2 ด้านขวา R9 SuperTri Retail
|
ด้านซ้าย
R9
SuperTri Tour Issue Version 2 ด้านขวา R9 SuperTri Retail
|
TaylorMade
R9 SuperTri Tour Issue Version 2 มีหน้าตาคล้ายกับ TaylorMade
R11 สักเกตจากขนาดที่ดูใกล้เคียงกันและความสูงของหน้าไม้
Tour
Issue โดยปกติแล้วแตกต่างจากหัว Retail ,TP ตรงที่จุดศูนย์ถ่วงข้างในหัวนั้นอยู่กันคนละที่จึงให้วิถีลูกที่ต่ำกว่ามาก
ตำแหน่งหน้าไม้เปิด
องศาหน้าไม้และไลท์แองเกิ้ลก็แตกต่างและที่สำคัญความเด้งของหน้าไม้ก็คาบเส้น (COR
tested)ไม่แปลกใจที่ทำให้ได้ระยะเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก
ก็เมื่อไม่มีวางขายทั่วไปราคาจะตั้งเท่าไหร่ก็ย่อมได้
จะว่าอย่างนั้นก็ไม่ถูกซะทีเดียว
จากการสอบถามผู้เชี่ยวชาญหัวไม้เทเลอร์เมดทุกหัวเมื่อนำมาเช็คว่าหน้าไม้สแควร์จริงหรือไม่นั้น
ก็ปรากฏกว่าเป็นหน้าไม้ปิดที่ 1 องศา
ถึงแม้ว่าทางโรงงานจะบอกว่าหน้าไม้สแควร์ก็ตาม นั่นเป็นเพราะมีน้อยมากที่จะมีนักกอล์ฟฝีมือดีที่จะตีได้ตามความสามารถ ตลาดส่วนใหญ่ก็เป็นนักกอล์ฟมือกลางๆ ถึงมือใหม่ที่มีอีโก้ค่อนข้างเยอะ
ผมต้องตีหน้าไม้เปิด หน้าไม้ปิดตีไม่ได้ อย่างโน้นอย่างนี้
ทางผู้ผลิตก็ใช้วิธีการแบบนี้เพื่อตอบสนองอีโก้ของนักกอล์ฟส่วนใหญ่
องศาหน้าไม้ ผมก็ได้นำมาเช็คก็ปรากฏว่าเมื่อใส่ก้านเข้ากับหัวไม้ Sleeve อยู่ที่ตำแหน่ง NU R9 SuperTri Retail lolf 9.5 เป็น lolf 10.5 ส่วน R9
SuperTri Tour Issue Version 2 ที่มี lolf จริงอยู่ที่ 9.2 เมื่อ เช็คที่ตำแหน่ง Sleeve อยู่ที่ตำแหน่ง NU เป็น lolf
9.5
Tour Issue ที่มี Serial
No. ขึ้นต้นด้วย Txxxxx นั้น
สมมุติว่าเมื่อทาง Tour Van ได้หัวเปล่า 100 หัว ก็จะมีการปรับแต่งหน้าไม้ให้เปิด ดัดองศาและไลแองเกิ้ลและทำ Hotmelt ในแต่ละหัวตามความต้องการของโปร ซึ่งขั้นตอนการดัดหน้าไม้ให้เปิด
ก็จะเกิดการเสียหายของหัวอยู่จำนวนไม่น้อย ไม่ว่าจะแตก บุบ สีถลอก
แล้วไหนขั้นตอนต่อมาอีกทั้งองศา,ไลแองเกิ้ล
ข้อมูลที่ไม่ยันยืน 100 หัว อาจรอดมาได้แค่ 20 หัว นั่นก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งทำไมถึงมีราคาสูง ทั้งที่วัสดุเหมือนตัว Retail ทุกอย่าง R9 Tour Issue รุ่นก่อนหน้านั้นที่ผมได้มาจะมีการตอกที่คอเป็นเครื่องหมายบวก
แต่รุ่นนี้ไม่มีก็ไม่ทราบเหมือนกัน แต่เมื่อทดสอบทั้งในสนามไดร์ฟและการออกรอบ บอกได้คำเดียว ต่างกันราวฟ้ากับเหวครับ
ช่วยขยายความหน่อยครับ ฟ้ากับเหว คือ ดีกว่าหรือแย่กว่า ยังไง
ReplyDeleteTaylorMade R9 SuperTri Tour Issue ให้ระยะที่ไกลเพราะหน้าที่บางและฟิลลิ่งที่ดีกว่าตัว Retail เพราะผ่านการทำ Hotmelt มา
ReplyDeleteวิถีลูกที่ต่ำกว่าเป็นเพราะมีหน้าที่เปิดถึง 4 องศา(ตัวที่ใข้ทดสอบ) และจุดศูนย์ถ่วงก็ต่างกันด้วยครับ
ผมเข้าใจว่า หน้าเปิด น่าจะทำให้ลูกลอยสูงกว่าหน้าไม่เปิด
ReplyDeleteซึ่งตรงข้ามกับที่โปรเขียน ช่วยอธิบายไขข้อข้องใจหน่อยครับ ผมอยากเรียนรู้ที่เป็นวิชาการครับ
Dynamic lolf คือการจรดหน้าไม้ไปที่ลูกและต้องวางหน้าไม้ติดพื้นนั่นคือองศาหน้าไม้จริง ขอยกตัวอย่าง R9 SuperTri TP lolf 9.5 หน้าไม้และตำแหน่ง Sleeve เซ็ทตำแหน่ง N ที่ทาง TM แเคลมไว้คือหน้าไม้สแควร์ แต่เมื่อจับมาวัดองศาหน้าไม้ก็ยังปิดอยู่ที่ 1 องศา เพราะฉะนั้นองศาจริงๆ ของไม้ที่ตำแหน่ง N คือ lolf 10.5
ReplyDeleteการที่หน้าไม้เปิดนั้นก็หมายถึง องศาหน้าไม้ที่ลดลงทุก 1 องศา สมมุติ ที่ lolf 9.5 หน้าไม้เปิด 2 องศา Dynamic lolf คือ lolf 7.5 แต่ผมก็ได้ถามผู้เชี่ยวชาญมาทาง TM นั้นองศาไม่ค่อยแน่นอน อย่างหัวที่ผมใช้ทดสอบนี้หน้าเปิด 5.5 แล้วนำไปลบกับ 9.5 แล้ว lolf จริงเป็น lolf 4 ซึ่งมันไม่น่าจะใช่
และทางผู้เชี่ยวชาญที่ทำไม้ใน Asian Tour ได้บอกผม Titleist นั้นให้ค่า Dynamic loft ที่ตรงกับ lolf จริงมากที่สุด
กล่าวสรุปง่ายๆ คือ ทุกองศาหน้าไม้ที่เปิดคือจำนวนตัวเลของศาหน้าไม้ลดลง หน้าไม้ปิดก็คือองศาหน้าไม้ที่เพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นหน้าไม้ปิดจึงทำให้ได้วิถีลูกสูง แต่ต้องจรดไม้วางกับพื้นเท่านั้น จรดลอย Dynamic lolf ไม่มีผลครับ
สำหรับผมแล้วบางครั้งก็เช็ทตำแหน่งก้านที่ L หน้าไม้ดูสแควร์มากขึ้น เป็นการเพิ่มองศาหน้าไม้ไปในตัว ส่วนท่านอื่นที่ใช้หัว Retail ถ้าอยากได้วิถีลูกที่ต่ำลงให้เซ็ทตำแหน่งก้านไว้ตรง R วิถีลูกต่ำลงอย่างเห็ดได้ชัดครับ